วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

Assignment 11: English Sentence Structure

English Sentence Structure

ประเภทของประโยค

ประโยคแบ่งออกตามลักษณะการนำไปใช้ได้ 4 ประเภท คือ

7.1.1 ประโยคบอกเล่า (declarative sentence)

หมายถึง ประโยคที่บอกข้อมูลหรือแสดงข้อความบอกเล่า เช่น

Sue is going to school on foot.

Mike is riding his bicycle to school.

Sue is going to school on foot, but Mike is riding his bicycle to school.

The boat hit a big rock.

The boat sank to the bottom of the river.

The boat hit a big rock, and it slowly sank to the bottom of the river.

When the boat hit a rock, it slowly sank to the bottom of the river.

All of those trees will be cut down.

การเปลี่ยนประโยคเหล่านี้ให้มีรูปและความหมายปฏิเสธทำได้โดย

1. เติม not ในประโยค ดังนี้

ประโยคที่เป็น present simple tense ต้องใช้ do/does ช่วยในประโยค เช่น

The boy gets up at six o'clock on weekends.


The boy does not get up at six o'clock on weekends.

I play tennis on Saturdays.


I do not play tennis on Saturdays.

ประธานของประโยคเป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์ ต้องใช้ does + not + V base form

ประธานของประโยคเป็นบุรุษที่ 3 พหูพจน์ บุรุษที่ 1 หรือ บุรุษที่ 2 ให้ใช้

do + not + V base form

ประโยคที่เป็น past simple tense ต้องใช้ did ช่วยในประโยค ดังนี้

The boy got up at six o'clock yesterday.


The boy did not get up at six o'clock yesterday.

The boys got up at six o'clock yesterday.


The boys did not get up at six o'clock yesterday.

I played tennis last Saturday.


I did not play tennis last Saturday.

ใช้ did + not + V base form ได้กับประธานของประโยคทุกเพศและบุรุษ

ประโยคที่เป็น tense อื่น ๆ ซึ่งมีกริยาช่วยอยู่แล้ว ให้ใส่ not หลังกริยาช่วย

ถ้ามีกริยาช่วยมากกว่า 1 ตัว ใส่ not หลังกริยาช่วยตัวแรก ในประโยค ดังนี้

The students are doing their homework.


The students are not doing their homework.

The teacher has written the words on the board.


The teacher has not written the words on the board.

Sandra will go to the party.


Sandra will not go to the party.

Norma has been working for the company since 2009.


Norma has not been working for the company since 2009.



2. ใช้คำที่ให้ความหมายเป็นปฏิเสธเติมในประโยค เช่นคำต่อไปนี้ rarely, seldom,

never, etc. ซึ่งมักจะเป็น simple tense โดยวางคำเหล่านี้ไว้หน้ากริยา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

Wendy plays tennis on Saturdays.


Wendy rarely plays tennis on Saturdays.



Peter goes to the beach on Sundays.


Peter seldom goes to the beach on Sundays.


Sandy played tennis on Saturdays.


Sandy never played tennis on Saturdays.

7.1.2 ประโยคคำถาม ( interrogative sentence)

หมายถึง ประโยคหรือกลุ่มคำที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านให้คำตอบ

ซึ่งอาจจะเป็นคำตอบสั้น ๆ ว่า yes หรือ no หรือเป็นคำตอบที่เป็นคำเดียว เป็นกลุ่มคำ หรือเป็นประโยค เช่น

Q: Is this your book?

A: Yes. / Yes, it's mine.

Q: Have you got the time?

A: It's five to nine.

Q: Where do you study?

A: At Sukhothai Thammathirat Open University.

Q: What is your major?

A: English. I major in English.

Q: You like Thai food, don't you?

A: Oh yes. Very much.



ประเภทของประโยคคำถาม

1. Yes/No questions ได้แก่คำถามที่ผู้ตอบมักจะต้องตอบรับหรือตอบปฏิเสธ คือ ตอบ yesหรือ no คำถามประเภทนี้ สร้างขึ้นจากประโยคบอกเล่า ในประโยคที่ใช้ tense ต่าง ๆที่มีกริยาช่วย หรือในประโยค ที่มี BE เป็นกริยาแท้เป็น present simple tense หรือ past simple tense มักวางประธานและกริยา สลับที่กันกลายเป็นประโยคคำถาม Yes/No questions การตอบคำถามส่วนมากจะเริ่มด้วยคำตอบyes หรือ no ตามข้อเท็จจริงที่ผู้ตอบต้องการสื่อและตามด้วยข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งอาจจะเป็นข้อความสั้น ๆ ที่อยู่ในรูปของ declarative sentence ดังตัวอย่าง

Declarative Sentence Question Answer

That is our new English teacher. Is that our new English teacher? Yes./ Yes, that's right./ Yes, it is.

I am from Thailand. Are you from Thailand? Yes, I am.

He is studying at my university. Is he studying at your university? Yes, he is.

He has left for the airport. Has he left for the airport? Yes./ Yes, he has.



ประโยคที่มีกริยาอื่น ๆ เช่น walk, play, leave, study, etc. เป็นกริยาแท้และอยู่ใน present simple tense ต้องใช้กริยาช่วย do หรือ does ในประโยคคำถาม ดังตัวอย่าง

Declarative Sentence Question Answer

He walks to school. Does he walk to school? Yes./ Yes, he does.

They play tennis. Do they play tennis? Yes, they do./ No, they don't.

I play badminton. Do you play badminton? Yes, I do./ No, I don't.

We like Italian food. Do you like Italian food? Yes, we do./ No, we don't.



ใช้กริยาช่วย did ในประโยคที่มีกริยาแท้อยู่ใน past simple tense เมื่อเปลี่ยนประโยคบอกเล่าเป็นประโยคคำถาม ดังตัวอย่าง

Declarative Sentence Question Answer

Korn studied in Bangkok. Did Korn study in Chiang Rai? No, he didn't. He studied in Bangkok.

The boys studied in Bangkok. Did the boys study in Bangkok? Yes, they did./ No, they didn't.



ในประโยคที่มี do และ have เป็นกริยาแท้และอยู่ใน present simple tense ต้องใช้กริยาช่วย do หรือ does ในประโยคคำถาม และใช้กริยาช่วย did เมื่อ do หรือ have อยู่ใน past simple tense ดังตัวอย่าง

Declarative Sentence Question Answer

He does his homework after school. Does he do his homework after school? Yes, he does./ No, he doesn't.

They always do the work by themselves. Do they always do the work by themselves? Yes, they do./ No, they don't.

I did that alone. Did you do that alone? Yes, I did./ No, I didn't.

We have Italian food once a week. Do you have Italian food once a week? Yes, we do./ No, we don't.

We had Chinese food yesterday. Did you have Chinese food yesterday? Yes, we did./ No, we didn't.

2. Wh-questions ไ ด้แก่คำถามที่ผู้ตอบจะต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ถามตาม Wh-word ที่วางไว้ต้นประโยคคำถาม เช่น

Q: Where did Korn study?

A: He studied in Bangkok.

Wh-words ซึ่งใช้นำหน้าประโยคคำถาม ได้แก่คำต่อไปนี้ who ( ใคร = subject), whom (ใคร = object), what ( อะไร = subject และ object), when ( เมื่อไร) , where ( ที่ไหน) ,

how ( อย่างไร) , which ( คน/อัน/สิ่งไหน) , whose ( ของใคร) , why ( ทำไม) การสร้างประโยคคำถามด้วยWh-words

Who ใช้เมื่อถามถึงประธานของประโยคที่เป็นคน เช่น

Subject Verb (Object)

John telephoned.


Who telephoned?



Subject Verb (Object)

John telephoned Mary.


Who telephoned?

การเรียงคำในประโยคคำถามเหมือนการเรียงคำในประโยคบอกเล่าดังนี้

Wh-word (= ประธานของประโยค) + กริยา (= present simple หรือ past simple)?

Wh-word (= ประธานของประโยค) + กริยา (= aux. verb + main verb เมื่อเป็น tense อื่น) ?

นอกจาก who ที่ใช้ถามถึงประธานของประโยคแล้วยังใช้ what, which, whose, how manyได้ ซึ่งเรียงคำในประโยคแบบเดียวกับ who

Whom ใช้เมื่อถามถึงบุคคลที่เป็นกรรมของประโยค เช่น

Subject Verb (Object)

John telephoned Mary.


Whom did John telephone?



หมายเหตุ ปัจจุบันนิยมใช้ who แทน whom โดยเฉพาะในภาษาพูดและภาษาไม่เป็นทางการ



การเรียงคำในประโยคคำถาม ประธานของประโยค จะต้องวางสลับกับ กริยาช่วย ดังนี้

- ในประโยคที่ใช้ tense ต่าง ๆ ที่มีกริยาช่วย วางประธานและกริยาช่วยสลับที่กัน ในประโยคที่มี BE เป็นกริยาแท้ อยู่ใน present simple tense หรือ past simple tense ต้องวางประธานและกริยา BE สลับที่กัน

- ในประโยคที่มีกริยาอื่น เช่น walk, buy, come, etc. เป็นกริยาแท้ อยู่ใน present simple ต้องใช้ does วางหน้าประธานที่เป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์ และใช้ do วางหน้าประธานที่เป็นบุรุษอื่น ๆ แล้วเปลี่ยนกริยาแท้ให้อยู่ในรูป V base form วางไว้หลังประธาน ถ้ากริยานั้นเป็น past simple ให้ใช้ did วางหน้าประธานได้ทุกบุรุษ แล้วเปลี่ยนกริยาแท้ให้อยู่ในรูป V base form วางไว้หลังประธาน


Whose ใช้เพื่อถามว่าใครเป็นเจ้าของของสิ่งของสิ่งหนึ่งหรือจำนวนหนึ่ง ใช้คังนี้

whose: Whose are these? หรือ

whose + noun: Whose car ran the fastest? ประโยคคำถามนี้ “Whose car”

เป็นประธานของประโยค รูปประโยคมีลักษณะดังนี้

whose + noun (= ประธานของประโยค) + กริยา (= present simple หรือ past simple)

Whose book are you reading ? ประโยคคำถามนี้ Whose book เป็นกรรมของประโยค

รูปประโยคมีลักษณะดังนี้

whose + noun (= กรรม) + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้



Which ใช้เพื่อถามว่า คนไหน/อันไหน/สิ่งไหน ใช้ในลักษณะเดียวกับ whose คือมีนามตามมา หรือไม่มีคำนามตามมา และใช้เป็นประธานหรือกรรมของประโยคก็ได้ เช่น

Which car ran the fastest? (Which car = subject) การเรียงคำในประโยค

มีลักษณะดังนี้

which + noun (= ประธานของประโยค) + กริยา (= present simple หรือ past simple)

Which book did you buy ? (Which book = object) การเรียงคำในประโยค

มีลักษณะดังนี้

which + noun (= กรรม) + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้



What มีความหมายว่าอะไร ส่วนมากใช้เพื่อถามถึงสิ่งของ มีคำนามตามมา

หรือไม่มีคำนามตามมาก็ได้ และใช้เป็นประธานหรือกรรมของประโยคได้ เช่น

What made that noise? (What = subject)

What animals live on plants? (What animals = subject) การเรียงคำในทั้ง

2 ประโยค มีลักษณะดังนี้ what/ what + noun (= ประธานของประโยค) + กริยา

(= present simple หรือ past simple)

What did he drink ? (What = object)

What musical instrument does he play ? (What musical instrument = object)

การเรียงคำในทั้ง 2 ประโยคมีลักษณะดังนี้

what/ what + noun (= กรรม) + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้



When มีความหมายว่าเมื่อไร ใช้ถามถึงเวลาซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของประโยค เช่น

When did he leave ?

When will they arrive ?

การเรียงคำในทั้ง 2 ประโยคมีลักษณะดังนี้

when + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้



Where มีความหมายว่าที่ไหน ใช้ถามถึงสถานที่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของประโยค

Ex: Where are the boys?

Where were the boys?

ใน 2 ประโยคนี้มี BE เป็นกริยาแท้ อยู่ใน present simple tense และ past simple tense

ต้องวางประธานและกริยา BE สลับที่กันดังนี้

where + BE (= กริยาแท้) + ประธาน

Ex: Where did he study ?

Where are they going ?

ในประโยคที่กริยาแท้เป็นกริยาอื่น เช่น study, go walk, eat, etc. การเรียงคำในประโยค

ต้องมีลักษณะดังนี้

where + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้



Why มีความหมายว่าทำไม ใช้ถามถึงเหตุผล ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของประโยค เช่น

Why did he leave early?

Why is he crying ?

การเรียงคำในทั้ง 2 ประโยคมีลักษณะดังนี้

why + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้



How มีความหมายว่าอย่างไร ใช้ถามถึงลักษณะการกระทำว่าเป็นอย่างไร

ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของประโยค

Ex: How are the boys?

How were the boys?

ใน 2 ประโยคนี้มี BE เป็นกริยาแท้ อยู่ใน present simple tense และ

past simple tense ต้องวางประธานและกริยา BE สลับที่กันดังนี้

how + BE (= กริยาแท้) + ประธาน

Ex: How did he go to school?

How are they going to the station?

ในประโยคที่กริยาแท้เป็นกริยาอื่น เช่น study, go, walk, eat, etc.

การเรียงคำในประโยค ต้องมีลักษณะดังนี้

how + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้

how ใช้กับคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ได้ เช่น

How old is the boy?

How often did he go to the cinema?

How many people came to the party?

How much water must we drink?

สำหรับ how many + N และ how much + N ใช้เป็นประธานได้และเรียงคำ

ในประโยคเหมือน who หรือใช้เป็นกรรมของประโยคและเรียงคำในประโยคเหมือน whom

ตัวอย่างการตั้งคำถามและการตอบคำถามให้สอดคล้องกับคำถาม



QUESTION ANSWER

Wh-word as subject Aux. verb Main verb Others (Adv. / Prep phr.)

Who came yesterday? Lily.

Who is in the room? Peter.

Who has got John's address? The secretary.

Which boy won the game? Henry from Class A.

Whose student is going to enter the competition? Mr. Brown's.

What made him cry? The loud noise.



การเรียงคำในประโยคคำถามข้างต้นเหมือนในประโยคบอกเล่า

QUESTION ANSWER

WH-word Aux. verb Subject Aux. verb Main verb Others (Adv./Prep phr.)

Whom did you ask? His father.

What is he doing? He's studying for the exam.

Why did she leave early? She wasn't feeling well.

When will he move to Bangkok ? Soon./ Next month.

Where does he live? He lives on Wireless Road.

How did you open that can? I used this opener.

How long has he been working there? For 4 years.

การเรียงคำในประโยคคำถามข้างต้น ประธานของประโยค จะต้องวางสลับกับกริยาช่วย

การตอบคำถามผู้ตอบจะต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ถามตาม Wh-word ที่วางไว้ต้นประโยคคำถาม

3. Tag Questions ได้แก่คำถามที่ส่วนหน้าเป็นรูปประโยคบอกเล่าหรือรูปประโยคปฏิเสธ และต่อท้ายหรือต่อส่วนสร้อยด้วยข้อความสั้น ๆ มีรูปเป็นคำถามคือ วางประธานและกริยาสลับที่กัน

Tag question มีโครงสร้างดังนี้

ประโยคบอกเล่า , ส่วนสร้อยกริยาอยู่ในรูปปฏิเสธ

ผู้ถามคาดหวังคำตอบ yes

Peter has already gone home, hasn't he?

ประโยคปฏิเสธ , ส่วนสร้อยกริยาอยู่ในรูปบอกเล่า

ผู้ถามคาดหวังคำตอบ no

Peter hasn't gone home yet, has he?

ส่วนที่เป็นคำถามต่อท้ายของ tag question จะประกอบด้วยกริยาช่วยและประธานที่เป็นคำสรรพนาม กริยาช่วยจะเป็นกริยาช่วยตัวเดียวกับที่อยู่ในส่วนหน้า แต่เป็นรูปที่ต่างกัน คือ ถ้าส่วนหน้าเป็นรูปประโยคบอกเล่า กริยาช่วยส่วนท้ายจะเป็นรูปปฏิเสธย่อ ถ้าส่วนหน้าเป็นรูปประโยคปฏิเสธ กริยาช่วยส่วนต่อท้ายจะเป็นบอกเล่า เช่น

John can come, can't he?

John can't come, can he?

Your sister has arrived, hasn't she?

Your sister hasn't arrived, has she?

Henry is working in the garden, isn't he?

Henry isn't working in the garden, is he?

ถ้าประโยคบอกเล่าส่วนหน้ามีกริยาแท้ที่เป็น present tense ส่วนสร้อยจะต้องใช้ don't หรือ doesn't แทนกริยาเดิม ถ้ากริยาแท้เป็น past tense ส่วนสร้อยจะต้องใช้ didn't เช่น

You like Chinese food, don't you?

He always comes to class late, doesn't he?

Jim came home late, didn't he?

ถ้าประโยคบอกเล่าส่วนหน้ามีกริยา BE หรือ have เป็นกริยาแท้ ส่วนสร้อยจะใช้กริยาBE หรือ have รูปปฏิเสธ เช่น

He was late, wasn't he?

She has two children, hasn't she?

แต่ I am late, aren't I? ( รูปปฏิเสธของ am ให้ใช้ aren't)

การทำประโยคคำสั่งเป็น tag question ให้เติม ‘will you?'/ ‘won't you?'/ ‘can't you?'ต่อท้ายซึ่งใช้เมื่อพูดขอร้องโดยอาจจะแสดงถึงความรำคาญ หรือในการเชื้อเชิญอย่างเป็นกันเอง และสำหรับพูดขอร้องธรรมดา อาจจะใช้ could you?/ can you?/ would you? ต่อท้ายประโยคคำสั่ง เช่น

Stop talking, will you?

Sit down, will you?

Stop making that noise, can you?

Come a little bit early, can you?



7.1.3 ประโยคคำสั่ง (imperative sentence) ได้แก่ประโยคที่เริ่มต้นประโยคด้วย V1 ประธานของประโยคเป็นบุรุษที่ 2 คือ you ซึ่งเป็นผู้ฟังหรือผู้อ่านที่ละไว้ แต่ถ้าเป็นคำกริยา BE จะอยู่ในรูป V base form ประโยคคำสั่งนี้ผู้พูดหรือผู้เขียนใช้เพื่อบอกให้ผู้ฟัง/ผู้อ่านปฏิบัติตามคำสั่ง พูดเชื้อเชิญ พูดขอร้อง ฯลฯ ของผู้พูด ทั้งนี้ น้ำเสียงของผู้พูดจะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของผู้พูดและผู้ฟัง รวมทั้งเจตนาในการสื่อความ เช่น

Imperative Sentences คำสั่ง

Order คำเตือน

Warning ขอร้อง

Request แนะนำ

Suggestion เชื้อเชิญ

Invitation

- Stop talking. X X

- Write the exercise in blue ink. X X

- Wake me up at six. X X

- Pass me the salt, please. X

- Please sit down. / Sit down, please. X X X

- Please make yourself at home. X X

- Don't forget to bring the book. X

- Never forget to do your homework. X

- Don't make a loud noise. The baby is sleeping. X X

- Always take an umbrella wherever you go. X X

- Don't be naughty. X

- Be quiet. X

จากตัวอย่าง ประโยคคำสั่งทำเป็นประโยคปฏิเสธได้โดยการเติม do not หรือ don't ไว้หน้าคำกริยา

แม้ผู้พูดบางคนอาจเติม please ในประโยคด้วย ประโยคเหล่านั้นยังคงเป็นประโยคคำสั่งอยู่ แต่ขึ้นอยู่กับเจตนาการใช้ของผู้พูด

7.1.4 ประโยคอุทาน (exclamatory sentence) การอุทานนอกจากผู้พูดกล่าวคำอุทานเป็นคำ ๆ หรือเป็นกลุ่มคำ ยังกล่าวคำอุทานเป็นประโยคด้วย ประโยคอุทาน ได้แก่ประโยคที่ผู้พูดกล่าวคำพูดที่แสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ดีใจ ประหลาดใจ ผิดหวัง เสียใจ ฯลฯ ของตน เช่น

How slow this bus is!

How lovely you are!

What a beautiful day it is!

What a large house it is!



ประโยคอุทานมีโครงสร้างดังนี้

1) ประโยคอุทานที่เริ่มต้นด้วย how บางโครงสร้างเป็นประโยค เช่น ‘How lovely your garden is!' แต่บางโครงสร้างมีลักษณะเป็นกลุ่มคำ ( phrase) เช่น

How + adjective

How strange! ( ไม่มีคำกริยา จึงมีลักษณะเหมือนกลุ่มคำ)

How + adjective + subject + verb

How funny he looks!

How + adverb + subject + verb

How fast he runs!

How + subject + verb

How you've grown!

2) ประโยคอุทานที่เริ่มต้นด้วย what บางโครงสร้างเป็นประโยค แต่บางโครงสร้างมีลักษณะเป็นกลุ่มคำ เช่น

What + a + singular countable noun

What a fool!

What + a + adjective + singular countable noun

What a rude boy!

What + plural countable noun

What lovely roses!

What + uncountable noun

What delicious soup!

What + a + singular countable noun + subject + verb

What a mess he made!

What + plural countable noun/ mass noun + subject + verb

What loud noises they are making!

What beautiful hair she has!

3) ประโยคอุทานที่มีโครงสร้างเป็นรูปคำถามปฏิเสธ โดยปิดท้ายประโยคด้วยเครื่องหมาย ! เช่น

Aux. verb + subject + main verb

Hasn't he grown! (He has grown a lot.)

Be + subject + a/an + adjective + singular countable noun หรือ

Be + subject + adjective + plural countable noun/ mass noun

Wasn't that a good movie!

Weren't they smart boys!


Wasn't that delicious soup!
 
                    ที่มา   http://esl.fis.edu/learners/advice/syntax.htm

Assignment 10 : Tenses

 

Tense
Tense คือรูปแบบ(หรือโครงสร้าง)ของกริยา ที่แสดงให้เราทราบว่า การกระทำหรือเหตุการ นั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งเรื่อง tense นี้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราใช้ tense ไม่ถูก เราก็จะสื่อภาษากับเขา ไม่ได้ เพราะในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจะอยู่ในรูปของ tense เสมอ ซึ่งต่างกับภาษาไทยที่เราจะมีข้อความบอกว่าาเกิดขึ้นเมื่อใดมาช่วยเสมอ แต่ภาษาอังกฤษจะใช้รูป tense นี้มาเป็นตัวบอก ดังนี้การศึกษาเรื่อง tense จึงเป็นเรื่องจำ เป็น.
Tense ในภาษาอังกฤษนี้จะแบ่ง ออกเป็น 3 tense ใหญ่ๆคือ
1. Present tense ปัจจุบัน
2. Past tense อดีตกาล
3. Future tense อนาคตกาล
ในแต่ละ tense ยังแยกย่อยได้ tense ละ 4 คือ
1 . Simple tense ธรรมดา(ง่ายๆตรงๆไม่ซับซ้อน).
2. Continuous tense กำลังกระทำอยู่(กำลังเกิดอยู่)
3. Perfect tense สมบูรณ์(ทำเรียบร้อยแล้ว).
4. Perfect continuous tense สมบูรณ์กำลังกระทำ(ทำเรียบร้อยแล้วและกำลัง ดำเนินอยู่ด้วย).


โครงสร้างของ Tense ทั้ง 12 มีดังนี้
Present Tense
[1.1] S + Verb 1 + ……(บอกความจริงที่เกิดขึ้นง่ายๆ ตรงๆไม่ซับซ้อน).
[Present] [1.2] S + is, am, are + Verb 1 ing + …(บอกว่าเดี๋ยวนี้กำลังเกิดอะไร อยู่).
[1.3] S + has, have + Verb 3 + ….(บอกว่าได้ทำมาแล้วจนถึง ปัจจุบัน).
[1.4] S + has, have + been + Verb 1 ing + …(บอกว่าได้ทำมาแล้วและกำลังทำ ต่อไปอีก).
Past Tense
[2.1] S + Verb 2 + …..(บอกเรื่องที่เคยเกิดมาแล้วใน อดีต).
[Past] [2.2] S + was, were + Verb 1 +…(บอกเรื่องที่กำลังทำอยู่ในอดีต).
[2.3] S + had + verb 3 + …(บอกเรื่อที่ทำมาแล้วในอดีตใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).
[2.4] S + had + been + verb 1 ing + …(บอกเรื่องที่ทำมาแล้วอย่างต่อ เนื่องไม่หยุด).
Future Tense
[3.1] S + will, shall + verb 1 +….(บอก เรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต).
[Feature] [3.2] S + will, shall + be + Verb 1 ing + ….(บอกว่าอนาคตนั้นๆกำลังทำอะไร อยู่).
[3.3] S + will,s hall + have + Verb 3 +…(บอกเรื่องที่จะเกิดหรือสำเร็จ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).
[3.4] S + will,shall + have + been + verb 1 ing +.. ..(บอกเรื่องที่จะทำอย่างต่อเนื่องในเวลาใด - เวลาหนึ่งในอนาคตและ จะทำต่อไปเรื่อยข้างหน้า).
หลักการใช้แต่ละ tense มีดังนี้
[1.1] Present simple tense เช่น He walks. เขาเดิน,
1. ใช้กับ เหตุการที่เกิดขึ้นตามความจริงของธรรมชาติ และคำสุภาษิตคำ พังเพย.
2. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในขณะที่พูด (ก่อนหรือหลังจะไม่จริงก็ตาม).
3. ใช้กับกริยาที่ทำนานไม่ได้ เช่น รัก, เข้าใจ, รู้ เป็นต้น.
4. ใช้กับการกระทำที่คิดว่าจะเกหิดขึ้นในอนาคตอันใกล้(จะมีคำวิเศษณ์บอกอนาคตร่วมด้วย).
5. ใช้ในการเล่าสรุปเรื่องต่างๆในอดีต เช่นนิยาย นิทาน.
6. ใช้ในประโยคเงื่อนไขในอนาคต ที่ต้นประโยคจะขึ้นต้น ด้วยคำว่า If (ถ้า), unless (เว้นเสียแต่ว่า), as soon as (เมื่อ,ขณะที่), till (จนกระทั่ง) , whenever (เมื่อไรก็ ตาม), while (ขณะที่) เป็นต้น.
7. ใช้กับเรื่องที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ และมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่สม่ำเสมอร่วมอยู่ด้วย เช่น always (เสมอๆ), often (บ่อยๆ), every day (ทุกๆวัน) เป็นต้น.
8. ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [1.1] ประโยคตามต้องใช้ [1.1] ด้วยเสมอ.


[1.2] Present continuous tense เช่น He is walking. เขากำลังเดิน.
1. ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด(ใช้ now ร่วมด้วยก็ได้ โดยใส่ไว้ต้น ประโยค, หลังกริยา หรือสุดประโยคก็ ได้).
2. ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน เช่น ในวันนี้ ,ในปีนี้ .
3. ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้พูดมั่นใจว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น เร็วๆนี้, พรุ่งนี้.
*หมายเหตุ กริยาที่ทำนานไม่ได้ เช่น รัก ,เข้าใจ, รู้, ชอบ จะนำมาแต่งใน Tense นี้ไม่ได้.

[1.3] Present perfect tense เช่น He has walk เขาได้เดินแล้ว.
1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน และจะมีคำว่า Since (ตั้งแต่) และ for (เป็นเวลา) มาใช้ร่วมด้วยเสมอ.
2. ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยทำมาแล้วในอดีต (จะกี่ครั้งก็ได้ หรือจะทำอีกใน ปัจจุบัน หรือจะทำในอนาคต ก็ได้)และจะมีคำ ว่า ever (เคย) , never (ไม่เคย) มาใช้ร่วมด้วย.
3. ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงแล้วแต่ผู้พูดยังประทับใจอยู่ (ถ้าไม่ประทับใจก็ใช้ Tense
4. ใช้กับ เหตุการที่เพิ่งจบไปแล้วไม่นาน(ไม่ได้ประทับใจอยู่) ซึ่งจะมีคำเหล่านี้มาใช้ร่วมด้วยเสมอ คือ Just (เพิ่งจะ), already (เรียบร้อยแล้ว), yet (ยัง), finally (ในที่สุด) เป็นต้น.



[1.4] Present perfect continuous tense เช่น He has been walking . เขาได้กำลังเดินแล้ว.
* มีหลักการใช้เหมือน [1.3] ทุกประการ เพียงแต่ว่าเน้นว่าจะทำต่อไปในอนาคตด้วย ซึ่ง [1.3] นั้นไม่เน้นว่าได้กระทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ส่วน [1.4] นี้เน้นว่ากระทำมาอย่างต่อเนื่องและจะกระทำต่อไปในอนาคตอีกด้วย.

[2.1] Past simple tense เช่น He walked. เขาเดิน แล้ว.
1. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต มิได้ต่อเนื่องมาถึงขณะ ที่พูด และมักมีคำต่อไปนี้มาร่วมด้วยเสมอในประโยค เช่น Yesterday, year เป็นต้น.
2. ใช้กับเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำในอดีตที่ผ่านมาในครั้งนั้นๆ ซึ่งต้องมีคำวิเศษณ์บอกความถี่ (เช่น Always, every day ) กับคำวิเศษณ์ บอกเวลา (เช่น yesterday, last month ) 2 อย่างมาร่วมอยู่ด้วยเสมอ.
3. ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แต่ปัจจุบันไม่ได้เกิด อยู่ หรือไม่ได้เป็นดั่งในอดีตนั้นแล้ว ซึ่งจะมีคำว่า ago นี้ร่วมอยู่ด้วย.
4. ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [2.1] ประโยคคล้อยตามก็ต้อง เป็น [2.1] ด้วย.

[2.2] Past continuous tense เช่น He was walking . เขากำลังเดินแล้ว
1. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน { 2.2 นี้ไม่นิยมใช้ตามลำพัง - ถ้าเกิดก่อนใช้ 2.2 - ถ้าเกิดทีหลังใช้ 2.1}.
2. ใช้กับเหตุการณ์ที่ ไดกระทำติดต่อกันตลอดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประโยค ซึ่งจะมีคำบอกเวลาร่วมอยู่ด้วยในประโยค เช่น all day yesterday etc.
3. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่กำลังทำในเวลาเดียวกัน(ใช้เฉพาะกริยาที่ทำได้นานเท่านั้น หากเป็นกริยาที่ทำนานไม่ได้ก็ใช้หลักข้อ 1 ) ถ้าแต่งด้วย 2.1 กับ 2.2 จะดูจืดชืดเช่น He was cleaning the house while I was cooking breakfast.

[2.3] Past perfect tense เช่น He had walk. เขาได้เดินแล้ว.
1. ใช้กับ เหตุการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต มีหลักการใช้ดังนี้.
เกิดก่อนใช้ 2.3 เกิดทีหลังใช้ 2.1.
2. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอันเดียวก็ได้ในอดีต แต่ต้องระบุชั่วโมงและวันให้แน่ชัดไว้ในทุกประโยคด้วยทุกครั้ง เช่น She had breakfast at eight o’ clock yesterday.

[2.4] past perfect continuous tense เช่น He had been walking.
มีหลักการใช้เหมือนกับ 2.3 ทุกกรณี เพียงแต่ tense นี้ ต้องการย้ำถึงความต่อเนื่องของการกระทำที่ 1 ว่าได้กระทำต่อเนื่องไปจนถึงการกระทำที่ 2 โดยมิได้หยุด เช่น When we arrive at the meeting , the lecturer had been speaking for an hour . เมื่อพวกเราไปถึงที่ ประชุม ผู้บรรยายได้พูดมาแล้ว เป็นเวลา 1 ชั่วโมง.



[3.1] Future simple tense เช่น He will walk. เขาจะเดิน.
ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีคำว่า tomorrow, to night, next week, next month เป็นต้น มาร่วมอยู่ด้วย.
* Shall ใช้กับ I we.
Will ใช้กับบุรุษที่ 2 และนามทั่วๆไป.
Will, shall จะใช้สลับกันในกรณีที่จะให้คำมั่นสัญญา, ข่มขู่บังคับ, ตกลงใจแน่วแน่.
Will, shall ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจงใจก็ได้.
Be going to (จะ) ใช้กับความจงใจของมนุษย์ เท่านั้น ห้ามใช้กับเหตุการณ์ของธรรมชาติและนิยมใช้ใน ประโยคเงื่อนไข.

[3.2] Future continuous tense เช่น He will be walking. เขากำลังจะ เดิน.
1. ใช้ในการบอกกล่าวว่าในอนาคตนั้นกำลังทำอะไรอยู่ (ต้องกำหนดเวลาแน่นอน ด้วยเสมอ).
2. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีกลักการใช้ดังนี้.
- เกิดก่อนใช้ 3.2 S + will be, shall be + Verb 1 ing.
- เกิดทีหลังใช้ 1.1 S + Verb 1 .


[3.3] Future prefect tens เช่น He will walked. เขาจะได้เดินแล้ว.
1. ใช้กับเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นหรือสำเร็จลงในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต โดยจะมีคำว่า by นำหน้ากลุ่มคำที่บอกเวลา ด้วย เช่น by tomorrow , by next week เป็น ต้น.
2. ใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีหลักดังนี้.
- เกิดก่อนใช้ 3.3 S + will, shall + have + Verb 3.
- เกิด ที่หลังใช้ 1.1 S + Verb 1 .

[3.4] Future prefect continuous tense เช่น He will have been walking. เขาจะได้กำลัง เดินแล้ว.
ใช้เหมือน 3.3 ต่างกันเพียงแต่ว่า 3.4 นี้เน้นถึงการกระทำที่ 1 ได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงการกระทำที่ 2 และจะกระทำต่อไปในอนาคต อีกด้วย.
* Tense นี้ไม่ค่อยนิยมใช้บ่อย นัก โดยเฉพาะกริยาที่ทำนาน ไม่ได้ อย่านำมาแต่งใน Tense นี้เด็ดขาด.
 
                                                  ที่มา ; http://marujo2524.igetweb.com/?mo=3&art=570356